เรียนรู้ ChatGPT และเทคนิค Prompt AI: เส้นทางสู่ Prompt Engineer มืออาชีพ

พัฒนาทักษะ Prompt Engineer กับ ChatGPT ที่จะยกระดับความเข้าใจและทักษะของคุณ พร้อมทั้งตัวอย่างการใช้งานจริง

Samithiwat Boonchai | Founder Prompt Snapshot
Samithiwat Boonchai
Founder | Prompt Snapshot

ChatGPT และเทคนิค Prompt AI

เกริ่นนำ

คุณเคยสงสัยไหมว่า เทคนิคการ Prompt สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ ChatGPT ได้อย่างไร? การเข้าใจและใช้งานเทคนิคเหล่านี้ เช่น Chain of Thought Prompt และ Few Shot Prompt, เป็นก้าวที่สำคัญในการพัฒนาทักษะการ Prompt AI ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น บทความนี้จะจะนำเสนอภาพรวมของ เทคนิคการ Prompt ที่ไม่เพียงแค่ใช้ได้ใน ChatGPT เท่านั้นแต่ยังรวมไปถึง AI Model อื่นๆ ที้อยู่ในรูปแบบ text-base อีกด้วย

โดยเราจะเริ่มจากการทำความเข้าใจ Prompt พื้นฐาน และเรียนรู้วิธีการพัฒนาไปสู่การสร้าง Prompt ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เพื่อให้คุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมในอนาคต


Zero Shot Prompt

Zero Shot Prompt คืออะไร

Zero Shot Prompt เป็นเทคนิคที่ไม่ต้องพึ่งพาข้อมูลตัวอย่างก่อนหน้านี้ ในหัวข้อนี้ เราจะมาดูวิธีการสร้างพรอมต์ zero-shot อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับผู้เริ่มต้น

Zero-Shot Prompt คืออะไร

  • Zero-Shot Prompt คือการสร้างคำถามหรือคำขอให้กับ AI โดยไม่มีการให้ตัวอย่างหรือบริบทที่เฉพาะเจาะจงก่อนหน้านี้
  • เหมาะสำหรับการทดสอบความสามารถของ AI ในการตอบคำถามหรือการดำเนินการโดยไม่มีข้อมูลพื้นฐาน

การสร้าง Zero-Shot Prompt ที่มีประสิทธิภาพ

[INSTRUCTION]
  • ใช้ภาษาที่ชัดเจนและเฉพาะเจาะจง
  • คำถามควรเป็นแบบที่ไม่ต้องการความเข้าใจบริบทหรือข้อมูลเฉพาะจากอดีต

ตัวอย่าง Zero-Shot Prompt

เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เราจะใช้ตัวอย่างในหัวข้อเดียวกันในเทคนิคทั้งหมดในบทความนี้

Explain the benefits of using solar energy.

Narrate a story about a journey to Mars.

Explain current AI technology.

สังเกตุข้อความใน Prompt คือเราไม่ให้บริบทหรือตัวอย่างจึงทำให้ผลลัพธ์ของ AI จะขึ้นอยู่กับความรู้และข้อมูลที่มีอยู่เท่านั้น

การใช้งานพรอมต์ zero-shot เป็นวิธีที่ดีในการเริ่มต้นการเรียนรู้และทดลองกับ AI สำหรับผู้เริ่มต้น เพราะช่วยให้เห็นศักยภาพและขอบเขตของการตอบสนองที่ AI สามารถจัดการได้โดยไม่ต้องพึ่งพาข้อมูลประวัติหรือตัวอย่างก่อนหน้า


Few-Shot Prompts

Few-Shot Prompt คืออะไร

Few Shot Prompt เป็นเทคนิคที่ใช้ตัวอย่างจำนวนน้อยเพื่อชี้นำให้กับ AI ในหัวข้อนี้ เราจะมาดูวิธีการสร้างพรอมต์ few-shot ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งกลยุทธ์ในการเลือกและนำเสนอตัวอย่างที่ช่วยทำให้ผลลัพธ์ของ AI เป็นไปตามที่เราต้องการ

Few-Shot Prompt คืออะไร

  • Few-shot Prompt คือการใช้ตัวอย่างเล็กน้อย เช่น ผลลัพธ์หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ AI มีบริบทในการตอบสนอง
  • ช่วยให้ AI เข้าใจลักษณะของคำตอบหรือข้อมูลที่ต้องการได้ดีขึ้น

การสร้างพรอมต์ Zero-Shot ที่มีประสิทธิภาพ

[INSTRUCTION], [EXAMPLE]
  • เลือกตัวอย่างที่ชัดเจนและเกี่ยวข้องกับประเด็นที่คุณต้องการถาม
  • นำเสนอตัวอย่างให้เป็นระเบียบ

ตัวอย่างพรอมต์ Few-Shot Prompt

เราสามารถใช้ตัวอย่างที่ได้จากพรอมต์ zero-shot และเพิ่มตัวอย่างของผลลัพธ์ไป 1-2 ตัวอย่าง โดยที่การนำเสนอตัวอย่างเหล่านี้จะช่วยให้ AI มีแนวทางในการสร้างคำตอบที่มีความเกี่ยวข้องและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น

Describe the benefits of using solar energy. Similar to how wind energy benefits by reducing carbon emissions.

Tell a story about a journey to Mars, similar to a story of a deep-sea expedition

Explain current trend AI technology, in this following format

- title
- description
- potential of this trends
- stakeholders

การใช้งาน Few-Shot Prompt เป็นวิธีที่ดีสำหรับผู้เริ่มต้นที่ต้องการนำ AI ไปสู่การตอบสนองที่เฉพาะเจาะจงและมีความเกี่ยวข้องมากขึ้น


Chain-of-Thought Prompt

Chain-of-Thought Prompt คืออะไร

การใช้เทคนิค Chain of Thought ในการสร้างพรอมต์เป็นวิธีที่ทำให้ AI สร้างผลลัพธ์ที่เป็นกระบวนการคิดแบบมีลำดับขั้นตอน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนหรือการตอบคำถามที่ต้องการการคิดเชิงวิเคราะห์

Chain-of-Thought Prompt คืออะไร

  • Chain-of-Thought Prompt ใช้พรอมต์ที่นำทาง AI ผ่านกระบวนการคิดหรือวิเคราะห์ขั้นตอนต่างๆ
  • ช่วยให้ AI สามารถแสดงการคิดและเหตุผลของมันในแต่ละขั้นตอนได้

การสร้างพรอมต์ Chain-of-Thought ที่มีประสิทธิภาพ

[INSTRUCTION], Let's think step by step
  • ใส่ keyword “Let's Think Step by Step” ตามหลังคำสั่ง

ตัวอย่าง Chain-of-Thought

เราสามารถสร้าง Chain of Thought Prompt โดยให้ AI วิเคราะห์และอธิบายขั้นตอนด้วยการใส่ keyword “Let's Think Step by Step”

Explain the benefits of using solar energy, Let's think step by step

Imagine planning a journey to Mars, Let's think step by step

Think about how AI technology works today, Let's think step by step

การใช้ Chain of Thought Prompt ช่วยให้ใช้งาน AI ให้พูดถึงกระบวนการคิดและการวิเคราะห์และเป็นวิธีที่ดีในการฝึกฝนและพัฒนาทักษะต่างๆ ในชีวิตประจำวันอีกด้วย


Counterfactual Prompts

Counterfactual Prompts คืออะไร

Counterfactual Prompts เป็นเทคนิคในการสร้างพรอมต์ที่ใช้การคิดเชิง "what-if" เพื่อค้นหาผลลัพธ์หรือมุมมองทางเลือกที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่แตกต่างจากปกติ

Counterfactual Prompt คืออะไร

  • ช่วยให้ AI พิจารณาผลลัพธ์ที่แตกต่างจากสถานการณ์ปกติหรือความเป็นจริง
  • ถาม AI สถานการณ์ "what-if" เช่น "หากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้ไม่เกิดขึ้น โลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร"

การสร้างพรอมต์ Counterfactual ที่มีประสิทธิภาพ

What if [INSTRUCTION]
  • ใช้ Keyword “What If” ใน Prompt
  • เริ่มต้นด้วยการระบุเหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์, เทคโนโลยี หรืออื่นๆ
  • ใช้ภาษาที่ชวนให้เกิดการคิดมากกว่าการหาคำตอบที่ชัดเจน

ตัวอย่าง Counterfactual Prompt

  • สร้างสถานการณ์ "what-if" ขึ้นมา
What if solar energy technology had not been developed and utilized, what would the world's energy situation look like?

What if the Mars journey had occurred in a world where humans can teleport, how would that have changed the mission?

What if AI technology had evolved focusing primarily on entertainment rather than utility, how would our current technologies differ?

การใช้ Counterfactual Prompt เป็นวิธีที่ดีในการสำรวจผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลที่เคยเกิดขึ้นจริง.


Recursive Prompts

Recursive Prompts คืออะไร

การสร้าง Recursive Prompt เป็นเทคนิคที่ใช้คำตอบหรือข้อมูลจากการผลลัพธ์ก่อนหน้านี้เพื่อนำไปสู่คำถามหรือคำตอบใหม่ โดยเน้นการสร้างคำตอบที่ละเอียดยิ่งขึ้น

Recursive Prompt คืออะไร

  • ถามคำถามต่อจาก Chat เดิม (ให้ลองนึกภาพว่าเราคุยกับคนๆ นึงอยู่แล้วก็ถามต่อจากสิ่งที่เขาเล่าให้เราฟัง)
  • ใช้ส่วนท้ายของคำตอบที่ AI สร้างขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของ Prompt อันต่อไป

การสร้างพรอมต์ Recursive ที่มีประสิทธิภาพ

Prompt เริ่มต้น: `[INSTRUCTION]`

AI Message: `[Message]`

Recursive Prompt: `[ANOTHER INSTRCUTION]`
  • ถามลงรายละเอียดที่มากขึ้นจากคำตอบอันเก่าของ AI
  • ระวังเรื่องข้อจำกัดของจำนวน Token ใน ChatGPT ที่จะทำให้ AI ลืมข้อความเก่าถ้า token ในแชทมีเยอะเกินไป (แก้ด้วยการให้มันสรุปเรื่องที่คุยกันแล้ว copy ไปถามในแชทใหม่)

ตัวอย่าง Recursive Prompt

หลังจากได้คำตอบจาก Prompt เก่า (AI Message) แล้วให้ถามต่อแบบลงรายละเอียดมากขึ้น

Prompt เริ่มต้น: `Explain the benefits of using solar energy.`

AI Message: `[Message]`

Recursive Prompt: `Describe how the development of solar technology has changed our world.`

Prompt เริ่มต้น: `Narrate a story about a journey to Mars.`

AI Message: `[Message]`

Recursive Prompt: `Considering the journey to Mars, what could be the next big step in space exploration?`

Prompt เริ่มต้น: `Explain current AI technology.`

AI Message: `[Message]`

Recursive Prompt: `With AI's current capabilities, how might AI evolve in the next decade?`

การใช้ Recursive Prompt เป็นวิธีในการสร้างความต่อเนื่องที่ช่วยให้ สามารถได้รายละเอียดที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น


Meta-Prompts

Meta-Prompts คืออะไร

การสร้าง Meta-Prompts คือการอ้างอิงโดยใช้ Prompt เดิมเป็นส่วนหนึ่งของคำถาม เพื่อให้ AI ไปวิเคราะห์คำตอบในมุมมองใหม่

Meta-Prompts คือ

  • ให้ AI วิเคราะห์ Prompt อันเดิมในมุมมองใหม่
  • ตัวอย่าง: ขอให้ AI วิเคราะห์ความเหมาะสมของ Prompt ที่ใช้ไปแล้ว หรือสร้าง Prompt ใหม่จาก Prompt เดิม

การสร้าง Meta-Prompts ที่มีประสิทธิภาพ

Prompt เริ่มต้น: `[INSTRUCTION]`

AI Message: `[Message]`

Meta Prompt: `[INSTRUCTION] in a new context, such as [EXAMPLE]`
  • ให้คำแนะนำที่ชัดเจนและบริบทใหม่ที่ต้องการ
  • ใช้ keyword in a new context ต่อจาก prompt เริ่มต้น
  • ใส่ตัวอย่างเพิ่มไปต่อท้ายด้วยจะทำให้ได้คำตอบที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่าง Meta-Prompts

  • ช่วยให้ AI พัฒนาคำตอบได้ชัดเจนขึ้น
Prompt เริ่มต้น: `Explain the benefits of using solar energy.`

AI Message: `[Message]`

Meta Prompt: `Explore the benefits of solar energy in a new context, such as in a world where renewable energy is the primary source`

Prompt เริ่มต้น: `Narrate a story about a journey to Mars.`

AI Message: `[Message]`

Meta Prompt: `Narrate a story about a journey to Mars in a new context, what would that journey look like?`

Prompt เริ่มต้น: `Explain current AI technology.`

AI Message: `[Message]`

Meta Prompt: `Explain current AI technology in a new context, focus on privacy and personal data, what would be the implications?`

การใช้ Meta-Prompts เป็นเทคนิคที่มีประโยชน์มากที่จะช่วยให้สามารถทดลองความเป็นไปได้ในการใช้ Prompt ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Interactive Storytelling Prompts

Interactive Storytelling คืออะไร

Interactive Storytelling Prompts เป็นเทคนิคในการ Prompt เพื่อใช้ AI ในการเล่าเรื่อง ช่วยให้เรื่องราวมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตามทิศทางที่นำเสนอ เทคนิคนี้ช่วยให้เรื่องราวมีความสดใหม่และไม่คาดคิด

Interactive Storytelling Prompts คืออะไร

  • สร้างปฏิสัมพันธ์กับ AI ผ่านการเล่าเรื่องที่มีการพัฒนาตามการตอบโต้
  • ตัวอย่าง: เริ่มต้นด้วยพรอมต์หรือเหตุการณ์แล้วผู้ใช้สามารถตอบสนองหรือเสนอทิศทางใหม่ให้กับเรื่องราว

การสร้าง Interactive Storytelling Prompts ที่มีประสิทธิภาพ:

Interactive Storytelling Prompts: `In a world where [KEY ELEMENT], a [MAIN CHARACTER] faces [CHALLENGE]. How does [MAIN CHARACTER] respond to the situation and what unexpected events unfold as a result?`

AI Message: `[MESSAGE]`

Counterfactual Prompts: `What if [INSTRCUTION]`
  • ให้ผู้ใช้สามารถเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางได้
  • สร้างโครงเรื่องหรือตัวละครที่น่าสนใจ
  • นำเสนอทางเลือกเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาเนื้อเรื่อง
  • หลังจากได้คำตอบจาก AI แล้วสามารถใช้เทคนิค Counterfactual Prompts และ Recursive Prompt เพื่อถามและให้ AI สร้างเรื่องราวเพิ่มเติมต่อจากเดิม

ตัวอย่าง Interactive Storytelling Prompts

  • เริ่มต้นด้วยการ Prompt ปลายเปิด และให้ AI สร้างเนื้อเรื่องที่ปรับไปตามสิ่งที่คุณนำเสนอ
Interactive Storytelling Prompts: `In a world dominated by solar energy, what happens when a major city faces an energy crisis?`

AI Message: `[MESSAGE]`

Counterfactual Prompts: `What if [INSTRCUTION]`

Interactive Storytelling Prompts: `Create a narrative about a journey to Mars but set in a universe where Mars is already colonized.`

AI Message: `[MESSAGE]`

Counterfactual Prompts: `What if [INSTRCUTION]`

Interactive Storytelling Prompts: `Develop a story where AI technology becomes self-aware. How does this change human society?`

AI Message: `[MESSAGE]`

Counterfactual Prompts: `What if [INSTRCUTION]`

การใช้ Interactive Storytelling Prompts เป็นวิธีที่ดีในการสร้างเรื่องเล่าสำหรับเหล่า creative content ในรูปแบบของคุณ


Conclusion

ในเนื้อหานี้ เราได้เรียนรู้เทคนิคการ Prompt AI ในรูปแบบต่างๆ แต่ละเทคนิคมีความพิเศษในการใช้ที่ไม่เหมือนกัน เราจึงควรเลือกใช้แต่ละเทคนิคในสถานการณ์ที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ AI

หากคุณกำลังมองหา Prompt AI เพื่อใช้ในการทำงาน สามารถมาค้นหาได้ที่เว็บไซต์ Prompt Snapshot คุณจะได้ค้นพบกับ Prompt ที่มีประโยชน์มากมายสำหรับอาชีพและการใช้งานต่างๆ ไม่ว่าคุณจะเป็นทำงานเป็นสายงานไหนก็ตาม

Prompt Snapshot คือ Platform ที่รวบรวม Prompt สำหรับสายงานต่างๆ เพื่อช่วยให้ Prompt Engineer สามารถนำไปใช้งานต่อได้ ไม่เพียงแต่เราเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่า แต่ยังเป็น community ที่ Prompt Engineer สามารถแบ่งปัน Prompt ของตัวเองและเรียนรู้จากผู้อื่น

สุดท้ายนี้เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นแนวทางและแรงบันดาลใจให้กับทุกท่านที่สนใจในการเป็น Prompt Engineer หรือในการทำงานในสาขา AI


Prompt Snapshot — ฝึก Prompt AI เพื่อไปให้ถึงฝัน 🚀

ติดตามพวกเราได้ที่